ขอบคุณภาพชัดๆ จาก สำนักงานประมงจังหวัดอ่างทอง
ปลาประจำจังหวัดอ่างทอง เลยนะครับ !!!
ชื่อสามัญ : Schwanenfeld's Tinfoil Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes schwanenfeldi
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัตย์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบกระโดงหลังสูง และกว้างมีสีแดง ลำตัวเป็นสีขาวเงินและสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว แก้มสีเหลืองปนแดง ขนาดของลำตัวความยาว 15 - 35 เซนติเมตร
นิสัย
รักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียว ว่องไว ไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลา
ถิ่นอาศัย
พบทุกภาคในประเทศไทย ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
อาหาร
พืชพันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ข้อมูลจากเว็บ กรมประมงจังหวัดอ่างทองเพิ่มเติมครับ
สำนักงานประมงจังหวัดอ่างทอง
ประกาศให้เป็นปลาประจำจังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558
ชื่อสามัญ : RED-TAIL TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbonymus altus (Gunther, 1868)
ชื่อท้องถิ่น : "ตะเพียนหางแดง" หรือ "ลำปำ" หรือ "เลียนไฟ" ในภาษาใต้ ซึ่งซ้ำกับปลากระแห
ประวัติความเป็นมา : อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เชื่อว่าเป็นปลามงคลตั้งแต่ครั้งอดีตถึงปัจจุบัน และยังเป็นปลาในวรรณคดีไทยแต่โบราณกาล ดังกาพย์แห่เรือ ตอนแห่ชมปลา พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง กวีเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย "ตะเพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย" อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการสานเป็นปลาตะเพียนทองใบลาน
ลักษณะทั่วไป : มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลือทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดใหญ่กว่าปลากระแห และครีบหลัง ครีบหางไม่มีแถบทีดำ ขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และที่สำคัญยังมีชื่อพ้องกับจังหวัดอ่างทอง คือคำว่า "ทอง"
ถิ่นอาศัย : ปลาตะเพียนทองเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี มีถิ่นกำเนิดในน่านน้ำจืด พกชุกชุมในเขตพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ในลำน้ำเจ้าพระยาและลำน้ำน้อย โดยเฉพาะแหล่งปลาหน้าวัดทุกแห่งในเขตจังหวัดอ่างทอง
คลิปที่เกี่ยวข้อง
แสดงความคิดเห็น